วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4

การเรียนทำ Web Blog วันนี้ รวมทั้งการไปทัศนศึกษาที่ ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง มาในวันที่ 27 พ.ค. 2553
เป็นสิ่งที่สนุกมาก อีกทั้งยังได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆกลับมาอีกเพียบ รวมถึงมิตรภาพดีๆระหว่างเพื่อนๆภายในห้อง ที่ตอนนี้รู้สึกว่าเริ่มจะสนิทสนมกันเยอะขึ้น ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณคุณครูทุกท่านที่ได้ดูแลพวกเรา 4/1 มาตลอดทั้ง 3 วันด้วยค่ะ

กิจกรรมที่ 3

คุณประยงค์ รณรงค์
แนวคิด : เป็นผู้ที่สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้อย่างสมบูรณ์แบบและยังริเริ่มการใช้ " แผนแม่บทชุมชน" เป็นต้นแบบของวิสาหกิจชุมชน ใช้ปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วประมวลผลนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองและชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้

คุณขจร ทิพาพงศ์
แนวคิด : การที่เราจะได้รับความรู้ที่แท้จริงนั้น ย่อมเกิดจากการนำความรู้ที่ได้รับมาไปลงมือปฏิบัติ

คุณประสิทธิ์ ไม้เรียง
แนวคิด : การจะทำสิ่งใดๆนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ทำแล้วตนเองมีความสุข เพื่อผลที่ตามมาจะได้เป็นไปอย่างที่เราคาดหวัง และจะต้องทำสิ่งนั้นๆด้วยความตั้งใจจริง

กิจกรรมที่ 2

เส้นทางการเดินทาง

เส้นทางการเดินทางจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช (A) ไปอบรม ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมชาติ ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช (B)


► ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง มหาวิทยาลัยธรรมชาติ
ปราชญ์ชาวบ้านผู้ที่เป็นวิทยากร คือ คุณขจร ทิพาพงศ์

สิ่งที่ได้รับ คือ
กระบวนการการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รวมถึงการบริหารจัดการชุมชนที่ดีมาก ทำให้เป็นชุมชนเข้มแข็งและประสบความสำเร็จดังเช่นทุกวันนี้ ตัวอย่างการดำเนินงาน ได้แก่
- การเลี้ยงปลาดุกชีวภาพ
คือการนำปลาดุกมาเลี้ยงในบ่อและฝึกให้ปลาดุกกินผัก โดยการลดอาหารจากสัตว์ลงและให้ปลากินอาหารไม่ตรงเวลา เมื่อปลารู้สึกหิวทำให้ต้องกินผักที่ใส่ไว้ในปล้องบ่อ เพื่อความอยู่รอด

- การเลี้ยงกบคอนโด
คือการนำกบเลี้ยงไว้ในบ่อเช่นเดียวกันกับปลาดุก และมีการย้อมสีกบให้มีสีเหลืองทอง โดยการนำใส่กบลงไปในน้ำฟางข้าว
- การผลิตน้ำหมักชีวภาพ
เป็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักพืช มีประโยชน์มากมาย เช่น นำมาใส่ลงไปในน้ำที่เลี้ยงปลาดุก จะทำให้ปลาดุกไม่ป่วยและน้ำไม่เน่าเสียง่าย
- การนำวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น การผลิตน้ำยาล้างจาน ยาสระผม สบู่ เป็นต้น เพื่อลดการใช้จ่ายภายในครัวเรือน


► โครงการพัฒนาและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับดิน หรือ "บ้านหมอดิน"
ปราชญ์ชาวบ้านผู้ที่เป็นวิทยากร คือ คุณอนันต์ สุวรรณโน


สิ่งที่ได้รับ คือ
- การบังคับให้ไม้ดอกและไม้ผล ออกดอกออกผลทุกๆปี โดยวิธีการ "แกล้ง" ไม่ให้ต้นไม้ได้รับอาหารและน้ำในช่วงหน้าร้อน ทำให้ต้นไม้สั่งสมความเครียดไว้ตลอดฤดู จนกระทั่งถึงฤดูฝนต้นไม้จะออกดอกอย่างรวดเร็ว
- เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพดิน สามารถตรวจสอบได้ถึงปริมาณธาตุอาหารและค่า pH ของดิน
- การเพิ่มสารอาหารในดินอย่างเหมาะสม โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยคอกควบคู่กัน

► ศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ชุมชนคลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช (ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช.)
ปราชญ์ชาวบ้านผู้ที่เป็นวิทยากร คือ คุณพรประสิทธิ์ ไม้เรียง

สิ่งที่ได้รับ คือ
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นกล้วยไม้ไทยพันธุ์ที่หายาก โดยการนำเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารสังเคราะห์ทั้งแบบเหลวและแบบแข็ง แต่ละขั้นตอนการทำนั้นต้องควบคุมให้อยู่ในสภาพปลอดเชื้อ เพราะเชื้อราจะทำให้แคลลัสของต้นกล้วยไม้หยุดการเจริญเติบโต
- กล้วยไม้เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า
- ว่านเพชรหึง หรือว่านหางช้าง เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- กล้วยไม้มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
- กล้วยไม้ป่าจะออกดอกฤดูแล้งเท่านั้น
- แคลลัสในขวดแก้วเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะสามารถแยกต้นกล้วยไม้ไปเพาะเลี้ยงในสภาพอากาศจริงได้

กิจกรรมที่ 1

ชื่อ : น.ส.อนันตญา ด่านผดุงทรัพย์
ชื่อเล่น : ออม
วัน-เดือน-ปี เกิด : 27-06-1994
อายุ : 16 ปี
การศึกษา : กำลังศึกษาชั้น ม.4/1 (sciconc) โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
คติ : ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การชนะใจตนเอง
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ เล่นอินเทอร์เน็ต
สีที่ชอบ : ฟ้า ชมพู
สิ่งที่ไม่ชอบ : สัตว์เลื้อยคลานทุกชนิด โดยเฉพาะงู
E-Mail : chaintogether_aom@hotmail.com